ขนมไทย เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย อย่างหนึ่งที่รู้จักกันดีเพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อน ประณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำที่กลมกลืน พิถีพิถันในเรื่องรสชาด สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรับประทานทำให้ได้รับความนิยม และมีผู้ให้ความสนใจบริโภค ผลิตภัณฑ์ขนมไทยบ้านนาทุ่งเป็นผลิตภัณฑ์สินค้า OT0P ซึ่งทางด้านการตลาดมีความต้องการที่จะขยายตลาด เพื่อให้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลทั่วไปมากขึ้น
ดังนั้น การตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ ขนมไทยบ้านจังเอิน เพื่อทราบถึงความต้องการของผู้บริโภคว่าต้องการผลิตภัณฑ์ขนมไทยอย่างไร จึงสรุปได้ว่า เพศ อายุ อาชีพ รายได้ การศึกษา เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติในการตัดสินใจเลือกซื้อขนมไทย และอิทธิพลที่ส่งเสริมในการตัดสินใจซื้อขนมไทยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ผู้บริโภคต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายทางด้านรสชาติ และความสะอาดถูกหลักอนามัย และเพื่อส่งเสริมการตลาดเพิ่มขึ้น คือ บรรจุภัณฑ์ ควรจะมีความสวยงามและน่าสนใจเพิ่มขึ้นด้วย
ขนมไทยของกลุ่มพัฒนาสตรีบ้านจังเอิน เป็นสินค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากนัก เนื่องจากกลุ่มพัฒนาสตรีบ้านจังเอิน ยังขาดความรู้ ความสามารถทางด้านการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขาย อีกทั้งตลาดในการรองรับผลิตภัณฑ์ค่อนข้างจะมีน้อยเพราะไม่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป จำเป็นจะต้องไปซื้อที่แหล่งผลิตและร้านค้าในอำเภอห้วยทับทันเท่านั้น ซึ่งทำให้ผู้บริโภคบางส่วนใหญ่ไม่สามารถไปซื้อถึงแหล่งผลิตได้ เพราะไม่สะดวกในการเดินทางและการขนส่ง
ขนมไทย (ขนมดอกจอก) หัตถกรรมความอร่อยที่แสดงออกถึงความอ่อนช้อยของ ความเป็นไทย ตั้งแต่ครั้งอดีตกาลที่ก่อกำเนิดภูมิปัญญาไทยหลากหลายอย่างให้สืบสานต่อทั้งวิถีชีวิตประเพณี วัฒนธรรม ที่สามารถนำวัสดุมีอยู่ในท้องถิ่นมาปรุงแต่งเป็นของหวานได้มากหลายรูปแบบ จัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าคนไทยมีลักษณะนิสัยอย่างไร เพราะขนมแต่ละชนิดล้วน มีเสน่ห์ แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อน ประณีต วิจิตรบรรจงในรูปลักษณ์ ตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ วิธีการทำที่กลมกลืน ความพิถีพิถัน สีที่ให้ความสวยงาม มีกลิ่นหอม รสชาดของขนมที่ละเมียดละไมชวนให้รับประทาน แสดงให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนใจเย็น รักสงบ มีฝีมือเชิงศิลปะ
บันทึกความรู้
เส้นทางข้างหน้า ประตูสู่อนาคต
กลุ่มพัฒนาสตรีบ้านจังเอิน หมู่ที่ ๕ ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
ได้ดำเนินกิจกรรมและจดทะเบียน OTOP ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ แม้กลุ่มจะดำเนินกิจกรรมการผลิตได้ไม่นาน
แต่ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มก็เป็นที่ยอมรับของลูกค้า มีตลาดทั้งในและนอกชุมชน มียอดการสั่งซื้อสูงและต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์หลัก คือ กล้วยฉาบหวานและฉาบเค็ม แต่นอกจากนี้ “ขนมดอกจอก” ก็เป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มผลิตและสามารถจำหน่ายได้ในปริมาณมาก เพราะรสชาติที่อร่อย กรอบ มัน และทอดออกมาได้สวย ซึ่งคุณสมถวิล อาจสาลี ประธานกลุ่มได้เล่าถึงขั้นตอนการทำดังนี้
กลุ่มพัฒนาพัฒนาสตรีบ้านจังเอิน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัด
ศรีสะเกษ เดิมทีสมาชิกกลุ่มมีอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก และมีอาชีพรับจ้างและเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพรอง อาชีพเสริม คือทำขนมไทย ซึ่งมีสมาชิกทั้งสิ้น ๓๕ คน
ต่อมา สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอห้วยทับทัน ร่วม กับสำนักงานเกษตรอำเภอห้วยทับทัน ได้สนับสนุนส่งเสริมฝึกอาชีพให้แก่สมาชิกกลุ่ม โดยได้ฝึกอบรมด้านการทำขนม และการแปรรูปผลิตทางการเกษตร เช่น การทำขนมดอกจอก กล้วยฉาบ ข้าวเกรียบ สมาชิกกลุ่มก็เริ่มมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คุณภาพของขนมให้ดีขึ้น จนผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทุกชนิด ได้รับการรับรองมาตรฐานอาหารและยา (อย.) จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และได้ OTOP ระดับ ๓ ดาว ระดับประเทศ
ปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป็นที่ต้องการของตลาด จนกลุ่มต้องขยายกำลังการผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ ปัจจุบันสมาชิกกลุ่ม มีจำนวนทั้งสิ้น ๖๕ คน
ลึกลงฐาน สร้างงาน สร้างคน
หัวใจหลักนอกจากประสบการณ์ความรู้จากเนื้อหางานแล้ว อีกด้านหนึ่งซึ่งถือเป็นจุดเด่นในการทำงานของกลุ่มพัฒนาสตรีบ้านจังเอิน ก็คือ หลักการทำงานที่เน้นการสร้างความเข้มแข็งในกลุ่ม การสร้างการเรียนรู้ให้กลุ่ม โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมถือได้ว่า เป็นบทบาทสำคัญอย่างมากกับการทำงานของกลุ่มพัฒนาสตรีบ้านจังเอิน จนทำให้กลุ่มสามารถดำเนินกิจกรรมอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน “บทกล่าวทิ้งท้ายของคุณสมถวิล อาจสาลี”
“กรมการพัฒนาชุมชน ๒๕๕๔ : ปีแห่งวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา”
แบบบันทึกองค์ความรู้ (KM)
...............................................................
เจ้าของความรู้ นางจิตติมา ทองศรี
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอห้วยทับทัน
ชื่อเรื่อง “ขนมดอกจอก” แน่หรือคือขนมไทย
เป็นงานเกี่ยวกับ การพัฒนาภูมิปัญญาหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๓-๙๓๔๔๗๒๖
0 comments:
แสดงความคิดเห็น
ขอบคุณสำหรับทุก Comment ครับ