ขนมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ความเป็นมาในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตกโดยมีความสัมพันธ์ทั้งทางด้านการการทูต การทหาร การค้าขาย และขนบธรรมเนียมประเพณี คนไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยารับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนทำให้คนรุ่นหลังเกือบจะจำแนกไม่ได้ว่าขนมไทยแท้ๆคือขนมประเภทใด และขนมอะไรที่ดัดแปลงมาจากต่างชาติ เช่น ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทองเป็นขนมที่ดัดแปลงมาจากอาหารของชาวโปรตุเกส โดย " มารี กีมาร์ " ภริยาของ คอนสแตนติน ฟอลคอน (เจ้าพระยาวิชาเยนทร์) เป็นผู้นำมาเผยแพร่ ดังนั้นการเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของขนมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่จะทำให้เยาวชนรุ่นหลังได้เกิดจิตสำนึก รักความเป็นไทย ภาคภูมิใจในความเป็นคนกรุงศรีอยุธยา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อทราบประวัติความเป็นมาของขนมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา
2. เพื่อเรียนรู้วิธีการในการทำขนมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา
3. เพื่อสืบสานวัฒนธรรมการดำรงชีวิตตามวิถีความเป็นคนกรุงศรีอยุธยา
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ศึกษาประวัติความเป็นมา ชนิด ประเภท ของขนมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา
2. จำแนกประเภทของขนมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา
2.1 ขนมที่มีส่วนผสมของไข่
- ฝอยทอง
- ทองหยิบ
- ทองหยอด
- สังขยา
2.2 ขนมที่มีส่วนผสมของแป้ง ข้าว มะพร้าว
- ข้าวตู
- ข้าวตัง
- ทองม้วน
- ขนมผิง
3. สืบค้นแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เป็นผู้ถ่ายทอดวิธีการทำ
4. เชิญวิทยากรท้องถิ่นมาให้ความรู้แก่นักเรียน
5. ฝึกปฏิบัติจริง
ผลที่ได้รับ/ ประโยชน์
1. นักเรียนทราบประวัติความเป็นมาของขนมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา
2. นักเรียนเรียนรู้วิธีการในการทำขนมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา
3. เป็นการสืบสานวัฒนธรรมการดำรงชีวิตตามวิถีความเป็นคนกรุงศรีอยุธยา
4. สามารถนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพได้
แหล่งเรียนรู้/ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
แหล่งเรียนรู้ ผันขนมหวานตลาดบ้านแพน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น นางพันธุ์สุธี ภาศักดี
ครูผู้สอน
นางวาสนา กลิ่นบำรุง ครูชำนาญการพิเศษ (งานบ้าน) โรงเรียนวัดกระโดงทอง
(พิบูลประสิทธิ์)
ผู้อำนวยการ นางดวงตา แหลมหลัก
ขนมฝอยทอง
ฝอยทองเป็นยองใย
เหมือนเส้นไหมไข่ของหวาน
คิดความยามเยาวมาลย์
เย็บชุนใช้ไหมทองจีน ๚
กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ฝอยทอง (โปรตุเกส: fios de ovos) เป็นขนมโปรตุเกส ลักษณะเป็นเส้นฝอยๆ สีทอง ทำจากไข่แดงของไข่เป็ด เคี่ยวในน้ำเดือดและน้ำตาลทราย ชาวโปรตุเกสใช้รับประทานกับขนมปัง กับอาหารมื้อหลักจำพวกเนื้อสัตว์ และใช้รับประทานกับขนมเค้ก โดยมีกำเนิดจากเมืองอาไวโร่ (โปรตุเกส: Aveiro) เมืองชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส
ขั้นตอนการทำ
เครื่องปรุง
1. ไข่เป็ด 25 ฟอง
2. น้ำตาลทรายขาว 3 กิโลกรัม
วิธีทำ
1. เตรียมน้ำเชื่อมโดยใช้น้ำตาลทรายขาว 3 กก. ใส่ในกระทะทองเหลือง
2. นำไข่ 1 ฟอง แยกไข่ขาวออกจกไข่แดง ขยำไข่ขาวในน้ำตาลทรายเติมน้ำพอท่วมน้ำตาล นำขึ้นตั้งบนเตาเคี่ยวจนน้ำตาลละลาย รอจนฟองในน้ำเชื่อมหมด ยกลงแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง
3. เตรียมไข่เป็ด 25 ฟอง ช้อนไข่น้ำค้างไว้ หนึ่งถ้วย แล้วแยกไข่ขาวออกจากไข่แดงให้หมด แล้วผสมด้วยไข่น้ำค้าง 1 ถ้วยที่เตรียมไว้
4. กรองด้วยผ้าขาวบาง จะได้เนื้อไข่แดงล้วน ๆ
5. นำน้ำเชื่อมที่เตรียมไว้ใส่ลงในกระทะทองเหลือง ตั้งไฟให้เดือด ใข้ไฟปานกลาง สังเกตน้ำเชื่อมเดือดเฉพาะตรงกลางเท่านั้น
6. ตักไข่แดงใส่กรวย โรยเป็นวงโดยรอบจนหมดกรวย
7. เติมน้ำสะอาดลงในกระทะเล็กน้อย ใช้ไม้แหลมช้อนเส้นฝอยทองขึ้น ส่ายไปมาในน้ำเชื่อม 2-3 ครั้งเพื่อให้เส้นเรียบ แล้วนำมาวางในถาดที่เตรียมไว้ จัดแต่งให้สวยงาม
การถนอมอาหารของชาวกรุงศรีอยุธยา
คนไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยามีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีวัฒนธรรมการกินอยู่ที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ มีการดัดแปลงจัดเก็บอาหารที่มีอยู่ให้สามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน แม้ในยามศึกสงครามก็สามารถมีอาหารเลี้ยงครอบครัวจนกว่าภาวะสงครามนั้นจะหมดไป วัฒนธรรมการถนอมอาหารของชาวกรุงศรีอยุธยาที่สืบทอดกันมามีมากมาย เช่นการถนอมอาหารโดยวิธีตากแห้ง ซึ่งสามารถทำได้ทั้งอาหารหวานและอาหารคาว
การถนอมอาหารโดยวิธีตากแห้ง เป็นกระบวนการลดน้ำ หนักของอาหารทำให้อาหารมีน้ำหนักเบาขึ้น โดยใช้ตัวกลางทำหน้าที่ถ่ายเท ความร้อนจากบรรยากาศไปสู่อาหารที่มีความชื้นอยู่โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง แล้วรับ ความชื้นจากอาหารระเหยไปสู่บรรยากาศภายนอกอาหาร ทำให้อาหารมี ความชื้นลดลงไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดแห้งเป็นอาหารแห้ง โดยทั่ว ๆ ไปอากาศ จะมีบทบาทสำคัญ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อนและความ ชื้นดังกล่าว หลักเกณฑ์การถนอมอาหารตากแห้งคือ จะต้องลด ยับยั้ง และป้องกันปฏิกิริยาทางเคมีทั้งหลายและการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ทุกชนิด เพื่อให้ได้อาหารตากแห้งที่เก็บได้นาน ไม่บูดเน่าเพราะการเจริญเติบโตของ จุลินทรีย์
ข้าวตู เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่เป็นผลมาจากการถนอมอาหารโดยการตากแห้ง เมื่อข้าวสุกที่รับประทานเหลือ คนในสมัยกรุงศรีอยุธยาจะไม่ทิ้ง แต่จะนำมาตากแห้งเก็บไว้ เมื่อมีจำนวนมาก ก็จะนำมาแปรรูปเป็นได้ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน ใช้รับประทานในยามปกติหรือเป็นเสบียงในยามเกิดศึกสงคราม
ข้าวตู .
เครื่องปรุง
ข้าวสุกตากแห้ง 250 กรัม
น้ำตาลมะพร้าว 250 กรัม
น้ำกะทิ 50 กรัม
มะพร้าวขูดฝอย 300 กรัม
เทียนอบ
วิธีทำ
1. นำข้าวสุกไปตากให้แห้ง ถ้าตากแล้วไม่แห้งดี
สามารถนำไปอบได้เมื่อแห้งดีแล้วนำไปคั่วทีละน้อย โดยใช้ไฟอ่อนๆ เสร็จแล้วนำไปโม่บดให้ละเอียด
2.ตั้งกระทะทองเหลืองบนไฟอ่อนๆใส่กะทิน้ำตาลมะพร้าวมะพร้าวขูดฝอย
ลงไปเคี่ยวจนกระทั่งส่วนผสมข้นเหนียว
3. ใส่ผงข้าวคั่วลงไปในกระทะและกวนต่อจนเหนียวพอปั้นได้ ปิดไฟ ทิ้งไว้ให้หายร้อน
4.อัดส่วนผสมใส่แบบที่เตรียมไว้จากนั้นนำไปอบควันเทียนให้หอมเสิรฟรับประทานได้ทันที หรือเก็บ ใส่ภาชนะมิดชิดเก็บไว้รับประทานภายหลังได้
0 comments:
แสดงความคิดเห็น
ขอบคุณสำหรับทุก Comment ครับ