ขนมไทย หมายถึง ขนมที่ใช้ฝีมือของคนในท้องถิ่นในการผลิต เป็นขนมที่มีความเป็น พื้นบ้านที่มีความสวยงามน่ารับประทาน การห่อ หมายถึง การบรรจุขนมไทยจำหน่าย เพื่อส่งออกสู่ท้องตลาด หรือการนำไปจำหน่ายยังที่ต่างๆโครงงาน”ขนมไทยเขาใช้อะไรห่อ”ได้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจว่าขนมไทยที่จำหน่ายใช้วัสดุอะไรห่อและเพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้วัสดุต่างๆที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จัดทำโดย
ด.ญ. พลอย พันธุ์แพ ชั้นป.6
ด.ญ. นภิสา เลิศสุวรรณ ชั้นป.6
ด.ญ. กนกพร วิมลสันติรังษี ชั้นป.6
อาจารย์ เสาวนีย์ กุลเพชรประสิทธิ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
พ.ศ.2546
โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงลงด้วยดีเนื่องจากได้รับความรู้ และคำแนะนำการทำโครงงานจากอาจารย์ผู้สอนคือ อาจารย์เสาวนีย์ กุลเพชรประสิทธิ์
ตั้งแต่เริ่มทำโครงงานจนสิ้นสุดการทำโครงงาน
ขอขอบพระคุณ แม่ค้าขายขนมไทยในตลาดสามแยกสันทรายทุกท่าน
ที่กรุณาได้ให้ข้อมูล สำหรับการทำโครงงาน
ท้ายสุดนี้ ขอกราบขอบพระคุณ คุณแม่ของคณะผู้จัดทำที่กรุณา ช่วยเหลือเป็นกำลังใจ ให้ความดูแลเอาใจใส่ในการไปเก็บรวบรวมข้อมูล มาโดยตลอด
คณะผู้จัดทำ
1.ด.ญ. พลอย พันธุ์แพ
2.ด.ญ. นภิสา เลิศสุวรรณ
3.ด.ญ. กนกพร วิมลสันติรังษี
24 ธันวาคม 2646
โครงงาน”ขนมไทยเขาใช้อะไรห่อ”ได้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจว่าขนมไทยที่จำหน่ายใช้วัสดุอะไรห่อและเพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้วัสดุต่างๆที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมโดยมีวิธีการศึกษาค้นคว้าดังนี้
1.ศึกษาหาความรู้เรื่องการทำโครงงานจากเอกสารโครงงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดของสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.)
2.ศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุที่ใช้ห่อขนมและอาหารจากเอกสารและเว็บไซด์ต่างๆ
3.วางแผนและคิดวิธีการในการไปสำรวจร้านต่างๆที่ขายขนมไทย
4.รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการไปสำรวจร้านต่างๆพร้อมทั้งถ่ายภาพประกอบ
5.นำผลการสำรวจมาวิเคราะห์ข้อมูล
6.เขียนอภิปรายผลจากการศึกษาค้นคว้า
7.นำเสนอเพื่อนๆในห้องเรียนโดยใช้แผงโครงงาน
ผลการศึกษาพบว่าขนมไทยมีการใช้วัสดุห่อจำหน่าย 3 ชนิด ได้แก่ ใบตอง โฟม และพลาสติก วัสดุที่ใช้มากที่สุด คือ พลาสติก รองลงมาคือ โฟม และใช้น้อยที่สุดคือใบตอง นอกจากนี้ยังศึกษาพบว่าวัสดุที่ใช้เวลาย่อยสลายนานที่สุดคือ โฟม รองลงมาคือ พลาสติก และใบตองใช้เวลาย่อยสลายน้อยที่สุด
การนำความรู้เกี่นวกับวัสดุที่ใช้ห่อขนมไทยที่ได้จากการจัดทำเป็นโครงงานนั้นเป็นการส่งเสริมให้ผู้จัดทำได้ใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะเรื่องการผลิตและการบริโภคตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการใช้วัสดุต่างๆ
คณะผู้จัดทำหวังว่าโครงงานนี้คงเป็นประโยชน์แก่นักเรียน เพื่อนๆ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
ผู้จัดทำ
24 ธันวาคม 2546
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
คำนำ
บทที่ 1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
วัตถุประสงค์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ขอบเขตของโครงงาน
นิยามศัพท์เฉยาะ
กรอบแนวคิด
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 การดำเนินงาน
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน
บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า
ประโยชน์ที่ได้รับ
ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ในการเรียนเนื้อหากลุ่มสาระสังคมศึกษาเรื่อง”การผลิตและการบริโภค”โดยเฉพาะการผลิตและการบริโภคสินค้าไทย ผลิตภัณฑ์อาหารไทยที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยในท้องถิ่นและในการเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้พวกเราได้เรียนรู้สินค้าของคนไทยในท้องถิ่นโดยเฉพาะขนมไทยที่พวกเราชอบรับประทานกันมากและสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ห่อขนมไทยว่ามีอะไรบ้างและส่งผลอย่างไรต่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น นอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้จัดทำในด้านการผลิตและการบริโภคตลอดจนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อจะได้นำไปเผยแพร่แก่เพื่อนๆในห้องเรียนต่อไป เพราะบ่อยครั้งที่เราได้แต่รับประทานขนมไทยแล้วทิ้งวัสดุที่ใช้ห่อลงในถังขยะโดยไม่ได้คัดแยกขยะ จึงอยากค้นคว้าเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น เพราะที่โรงเรียนได้รณรงค์ให้นักเรียนให้ทิ้งขยะลงถังให้ตรงกับประเภทของขยะ จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะทำงานชิ้นนี้ให้ออกมาเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆและรุ่นน้องในการมำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป
1. เพื่อสำรวจว่าขนมไทยที่จำหน่ายใช้วัสดุอะไรห่อ
2. เพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้วัสดุที่ห่อขนมไทยจำหน่าย
1. ทำให้รู้ว่ามีวัสดุใดบ้างที่ใช้ห่อขนมไทย
2. ทำให้ทราบถึงผลกระทบจากการใช้วัสดุต่างๆที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
3. ได้รู้จักการเลือกใช้วัสดุต่างๆในการบรรจุขนมและอาหาร
4. ได้รับประสบการณ์ตรงจากการได้ไปสำรวจ
5. ได้รู้จักการทำงานกลุ่ม
ในการศึกษาครั้งนี้มีขอบเขตในการศึกษาคือ
1. การสำรวจ สำรวจเฉพาะตลาดสามแยกสันทรายน้อย อำเภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่
2. ร้านค้าที่สำรวจคือ ร้านค้าที่จำหน่ายขนมไทยบริเวณตลาด3แยกสันทรายน้อยเท่านั้น
3. ในการสำรวจจะใช้วิธีสุ่มสำรวจขนมไทยจำนวน20ชนิดในวันเสาร์ที่6 ธันวาคม และเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2546
ขนมไทย หมายถึง ขนมที่ใช้ฝีมือของคนในท้องถิ่นในการผลิต เป็นขนมที่มีความเป็น พื้นบ้านที่มีความสวยงามน่ารับประทาน
การห่อ หมายถึง การบรรจุขนมไทยจำหน่าย เพื่อส่งออกสู่ท้องตลาด หรือการนำไปจำหน่ายยังที่ต่างๆ
ศึกษาเอกสาร
วางแผนงานสำรวจ
ตรวจสอบให้แน่ใจ
นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
จากหนังสือ มาช่วยกันลดขยะ ของ งามทิพย์ ภู่วโรดม และคณะ พอสรุปได้ว่า ขยะเป็นปัญหาสำคัญอันดับ 1 ของสังคม
ปัจจุบันจึงเป็นภาระหนักของสังคมในการที่จะช่วยกันกำจัดขยะซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ในสังคมมากมายได้แก่
1. บ้านเมืองสกปรกไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน
2. เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ และพาหะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก และโรคทางเดินหายใจ
3. ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น สารตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดิน และแหล่งน้ำ
4. ทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย
5. ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วม
6. เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่นฝุ่นละออง เขม่า ควันจากการเผ่าขยะ และเกิดมีเทน จากการฝังกลบขยะ
7. ขยะบางชนิดไม่ย่อยสลายและกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม
ดังนั้น โครงการรณรงค์ให้ประชาชนทุกคนร่วมใจกันคัดแยกขยะจึงเกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทาง ในการลดปริมาณขยะที่ออกมาจากบ้านเรือน สำนักงานและที่ต่าง ๆ ของชุมชน
จากหนังสือ 50 วิธีพิทักษ์โลกและสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กผู้แปลคือ พันธุมดี เกตวันดี
กล่าวว่าโฟมเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่เรียกว่า สไตโรโฟม ใช้ทำสิ่งของ เช่น จานที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง โฟมกล่องใส่อาหาร เพราะฉะนั้นการผลิตโฟมทำมาจากน้ำมัน ซึ่งไม่สามารถแปลงกลับให้เป็นน้ำมันได้ และยังคงเป็นขยะที่ถาวรกำจัดไม่ได้ โฟมเป็น พลาสติกที่ทำจากสารเคมีที่ทำให้รูของโอโซนใหญ่ขึ้น โฟมที่ผลิตต่อวันหากนำมาเรียงต่อกันความยาวของโฟมมากกว่าความยาวของโลกอีก นอกจากนี้ยังให้ข้อคิดว่าควรหลีกเลี่ยงการใช้โฟมทั้งการซื้อของที่บรรจุด้วยโฟม และการนำโฟมไปใช้ในงานสร้างสรรค์อย่างอื่น
จาก www.yahoo.com “ขยะ”
www.yahoo.com “โฟม”
สามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้
ตารางแสดงเวลาที่ใช้ในการย่อยสลาย ประโยชน์และโทษจากการใช้วัสดุต่างๆ
วัสดุ เวลาที่ใช้ในการย่อยสลาย ประโยชน์ โทษ/ปัญหา
ใบตอง 1-3 เดือน วัสดุธรรมชาติย่อยสลายง่ายราคาถูก หายาก/ต้องใช้คู่กับพลาสติก
พลาสติก 450 ปี สะดวก หาง่าย ราคาถูก ใช้เวลาย่อยสลายนาน
โฟม 500 ปี สะดวก สวยงาม หาง่าย ใช้เวลาย่อยสลายนาน
จากการสัมภาษณ์แม่ค้าขายขนมไทยตลาดสามแยกสันทราย ได้อธิบายถึงการใช้วัสดุในการห่อขนมไทยที่จำหน่ายว่าวัสดุประเภทพลาสติกและโฟม จำเป็นต้องใช้กับขนมไทยบางชนิดเพราะต้องการให้ผู้บริโภค ได้สังเกตเห็นสีสันของขนมที่สวยงามสะดุดตาทำให้น่าซื้อ และน่ารับประทานมากขึ้น ส่วนใบตองจะใช้ได้กับขนมไทยบางชนิดเท่านั้นเพราะถ้าห่อด้วยใบตองทั้งหมดจะสังเกตุเห็นขนมได้ไม่ชัดเจนดังเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
วิธีการดำเนินงาน
1. รับความรู้เรื่องการทำโครงงานเชิงสำรวจกับอาจารย์ที่ปรึกษาและศึกษาจากหนังสือโครงงานที่ชนะการประกวดของสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.)
2. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจากห้องสมุดของโรงเรียนและค้นคว้าจาก Website ต่างๆ
3. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับปัญหาของขยะและศึกษาถึงประโยชน์และโทษของวัสดุต่าง ๆ และค้นคว้าจาก Website ต่างๆ
4. ปรึกษาสมาชิกในกลุ่มเกี่ยวกับการวางแผนการสำรวจ รวบรวมข้อมูลการทำโครงงาน
5. สร้างเครื่องมือแบบบันทึกการสำรวจ
6. เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจสภาพจริง
7. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการเก็บรวบรวมข้อมูล
8. ปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงผลงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
9. นำเสนอผลงานในรูปของรายงานการจัดทำโครงงาน
10. จัดทำเป็นแผงโครงงานเพื่อให้เพื่อนๆได้ศึกษาต่อไป
ผลการดำเนินงาน
ผลการศึกษาวัสดุที่ใช้ห่อขนมและอาหาร จากการศึกษาเอกสารและค้นคว้าจาก Website yahoo.com พบว่าวัสดุที่ใช้ห่อขนมมีรายละเอียด ดังนี้
1. ใบตอง
ใบตอง เป็นส่วนของต้นกล้วย (ดังรูปที่ 1) ซึ่งมีใบขนาดใหญ่ (ดังรูปที่ 2) มีประโยชน์มาก สามารถนำมาใช้ ห่อของได้ เช่น ห่อขนม ห่ออาหาร และที่สำคัญใบตองเป็นวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ง่าย
รูปที่ 1 แสดงรูปของต้นกล้วย
รูปที่ 2 ใบของต้นกล้วย (ใบตอง)
2. โฟมและพลาสติก
โฟมหมายถึง พลาสติกที่ฟูหรือขยายตัว ที่มีมากมายหลายประเภท เช่น PE (Polyethylene) , PS (Polystyrene), PP (Polypropylene) และในบรรดาพลาสติกหลายประเภทที่มีในโลกที่ใช้สารขยายตัวจะทำให้พลาสติกนั้นกลายเป็นโฟม เรียกทั่วไปว่าโฟมพลาสติก เช่น กล่องใส่อาหาร เป็นต้น
โฟมพลาสติกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักคือ
1. Expandable polystyrene/EPS ที่ใช้บรรจุสินค้ามีค่าต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็นและเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ
2. Polystyrene paper/PSP ที่ใช้ทำถาดหรือกล่องบรรจุอาหาร
EPS คือ โฟม PS ที่ใช้ก็าซ Pentane ซึ่งเป็นก๊าซตระกูลเดียวกับก๊าซหุงต้ม หรือ Butane ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ขยายตัวในระหว่างกระบวนการผลิตวัตถุดิบที่เรียกว่า Polymerization เนื้อพลาสติก PS จะทำปฏิกิริยากักเก็บก๊าซ Pentane เอาไว้ภายใน เมื่อนำโฟม EPS วัตถุดิบจะขยายตัวเมื่อได้รับความร้อนจากน้ำกลายเป็นเม็ดโฟมขาว จากนั้นจึงนำไปขึ้นรูปมี 2 ลักษณะ คือ
1.1 อัดขึ้นรูปต่าง ๆ ตามลักษณะแม่พิมพ์ เช่น กล่องน้ำแข็งบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ
1.2 อัดเป็นรูปก้อนสี่เหลี่ยม แล้วนำมาตัดเป็นขนาดต่าง ๆ ที่ต้องการ โดยทั่วไปโฟม EPS จะขยายตัวประมาณ 60 เท่า และเมื่อขยายตัวแล้วจะมีอากาศเข้ามาแทนที่ถึง 98 % ของปริมาตร มีเพียง 2% เท่านั้นที่เป็นเนื้อพลาสติก PS และนี่คือสาเหตุที่ทำให้โฟมมีขนาดใหญ่แต่กลับมีน้ำหนักเบา
3. Polystyrene Paper/PSP คือ PS ที่ใช้ก๊าซหุงต้มหรือ Butane เป็นสารที่ทำให้ขยายตัว วัตถุที่ใช้คือเม็ดพลาสติก PS ทั่วไปซึ่งเข้าสู่กระบวนการฉีดโดยสกรูซึ่งมีความร้อนจากไฟฟ้าเช่นเดียวกับการฉีดพลาสติกทั่วไป เมื่อเม็ดพลาสติก PS ผ่านสกรูความร้อนจะหลอมตัว ขณะที่พลาสติกออกจากปลายสกรูจะถูกฉีดด้วยก๊าซ Butane เข้าทำปฏิกิริยาทำให้พลาสติกที่กำลังหลอมเกิดการขยายตัวประมาณ 20 เท่า ฉีกออกเป็นแผ่นแล้วม้วนเข้าคล้ายกระดาษ
แล้วเก็บเข้าห้องเก็บที่อุณหภูมิปกติ 10-15 วันเพื่อให้ก๊าซ Butane ระเหยออกจากแผ่นโฟมให้เหลือไม่เกิน 0.02 % ซึ่งจะไม่มีผลต่อ สุขภาพจากนั้นจะนำมาม้วนโฟมPSPที่ได้ไปขึ้นรูปด้วยความร้อนประมาณ100องศาเซลเซียส ตามลักษณะพิมพ์ เช่นกล่องใส่อาหาร เป็นต้น จะเห็นว่าในกระบวนการผลิตโฟมไม่ใช่สาร CFC เลย
เนื่องจากโฟมทั้งสองประเภทคือ พลาสติก PS ที่ขยายตัวจึงถูกนำมา รีไซเคิลได้โดยการบดให้มี ขนาดเล็กแล้วนำมาหลอมโดยผ่านสกรูความร้อน
เพื่อกลายสภาพเป็นพลาสติก PS ซึ่งสามารถนำมาผลิตเป็นสินค้าพลาสติกทั่วไป เช่น ตลับเทปเพลง ม้วนวีดีโอเทป ไม้บรรทัด เป็นต้น นอกจากนั้นโฟม EPS ยังสามารถนำมาบดให้มีขนาดใกล้เคียงกับเม็ดโฟมใหม่แล้วนำกลับมาใช้ผสมกับเม็ดโฟมในกระบวนการซ้ำได้อีก หรือนำไปเข้าเครื่องบีบอัดเม็ด PS แล้วนำไปผลิตเป็นสินค้าพลาสติก เช่น ไม้บรรทัด ถาดรอง เป็นต้น
ในโลกปัจจุบันนี้ก้าวสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติและผลจากการกระทำของการกระทำของมนุษย์ ก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและผลจากการกระทำของมนุษย์ ก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและเกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อันมีผลกระทบต่อประชากรทั้งโลกราว 6000 ล้านคน ทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่ง
จะลดลงเรื่อย ๆ จึงต้องมาวัสดุสังเคราะห์มาใช้ทดแทนวัสดุธรรมชาติ เพื่อชลอการสูญสิ้นของทรัพยากรธรรมชาติ
โฟมในปัจจุบันเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่นำมาใช้แทนวัสดุธรรมชาติมีการพัฒนาใช้ทำบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบรรจุอาหาร เครื่องใช้สอย เครื่องไฟฟ้า ใช้ในการก่อสร้าง ใช้ผลิตหนังในห้องเย็น เป็นต้น ซึ่งให้ผลดีมีราคาเหมาะสม สามารถนำมากลับหมุนเวัยนใช้ใหม่ได้โดยไม่ต้องพึ่งการย่อยสลายตามธรรมชาติ แสดงถึงโฟมไม่ใช่เป็นตัวทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และยังไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ตามแนวความคิดของ พันธุมดี เกตะวันดี กล่าวว่าโฟมเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่เรียกว่า สไตโรโฟม ใช้ทำสิ่งของ เช่น จานที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง โฟมกล่องใส่อาหาร เพราะฉะนั้นการผลิตโฟมทำมาจากน้ำมัน ซึ่งไม่สามารถแปลงกลับให้เป็นน้ำมันได้ และยังคงเป็นขยะที่ถาวรกำจัดไม่ได้ โฟมเป็น
พลาสติกที่ทำจากสารเคมีที่ทำให้รูของโอโซนใหญ่ขึ้น โฟมที่ผลิตต่อวันหากนำมาเรียงต่อกันความยาวของโฟมมากกว่าความยาวของโลกอีก นอกจากนี้ยังให้ข้อคิดว่าควรหลีกเลี่ยงการใช้โฟมทั้งการซื้อของที่บรรจุด้วยโฟม และการนำโฟมไปใช้ในงานสร้างสรรค์อย่างอื่น
ไปสันทราย ไปดอยสะเก็ด
ตลาดสามแยกสันทรายน้อย
ทิศเหนือ
ทิศตะวันออก
ไปลำปาง
ไปห้วยแก้ว สี่แยกศาลเด็ก
รพ.แมคคอมิค
P.R.C.
เข้าเมือง
รูปที่ 3 แผนที่ตั้งตลาดสามแยกสันทรายน้อย
อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
รูปที่ 4 แสดงด้านหน้าของตลาด
รูปที่ 5 แสดงด้านหน้าของตลาดอีกมุมหนึ่ง
รูปที่ 6 ลักษณะการห่อขนมข้าวเหนียวมันด้วยใบตอง
รูปที่ 7 การใช้ใบตองห่อขนมสอดใส่
รูปที่ 8 การห่อขนมหวานประเภทขนมชั้น วุ้น ทองหยิบ ฝอยทอง
รูปที่ 9 การใช้โฟมและพลาสติกห่อขนมวุ้น เม็ดขนุน ลูกชุบ
รูปที่ 10 การห่อขนมข้าวเหนียวมันด้วยพลาสติก
ตารางที่ 1 แบบบันทึกแสดงผลการสำรวจการห่อขนมไทยในตลาดสามแยกสันทรายน้อย เมื่อวันที่ 6และ13 ธันวาคม 2546
ลำดับที่ รายชื่อขนมไทยที่สำรวจ วัสดุที่ใช้ห่อ รวม
ใบตอง โฟม พลาสติก
1. ขนมข้าวเหนียวมัน / / / 3
2. ขนมชั้น / / 2
3. ขนมครก / / / 3
4. ขนมทองหยิบ / / 2
5. ขนมเทียน / 1
6. ขนมฝอยทอง / / 2
7. ขนมสาลี่อ่อน / 1
8. ขนมสอดไส้ / 1
9. ข้าวต้มมัด / 1
10. ขนมเบื้อง / / 2
11. ขนมวุ้น / / / 3
12. ทองหยอด / / 2
13. ลูกชุบ / / 2
14. เม็ดขนุน / / 2
15. ขนมกล้วย / / 2
16. ขนมถั่วแปบ / / / 3
17. ขนมตะโก้ / / / 3
18. ขนมสังขยา / / 2
19. ขนมหม้อแกง / / 2
20. ขนมถ้วยฟู / 1
รวม 9 14 17 40
ร้อยละ 22.5 35 42.5 100
จากตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่า ขนมไทยที่จำหน่ายในตลาดสามแยกสันทรายน้อย มีการห่อด้วยพลาสติกมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.5 รองลงมาคือโฟม คิดเป็นร้อยละ 35 และใบตอง คิดเป็นร้อยละ 22.5 ตามลำดับ
ตารางที่ 2 แสดงการใช้วัสดุที่ใช้ห่อขนมไทย แต่ละชนิด ในตลาดสามแยกสันทรายน้อย
วัสดุที่ใช้ห่อขนมไทยแต่ละชนิด ขนมไทย ร้อยละ
ใช้ใบตองอย่างเดียว ขนมสอดไส้,ข้าวต้มมัด,ขนมเทียน 15
ใช้โฟมอย่างเดียว - 0
ใช้พลาสติกอย่างเดียว ขนมถ้วยฟู,ขนมสาลี่อ่อน 10
ใช้ใบตองและโฟม - 0
ใช้ใบตองและพลาสติก ขนมกล้วย 5
ใช้โฟมและพลาสติก ขนมชั้น,ขนมทองหยิบ,ขนมฝอยทอง,ขนมเบื้อง,ขนมทองหยอด,ขนมลูกชุบ,ขนมเม็ดขนุน,ขนมสังขยา,ขนมหม้อแกง 45
ใช้ใบตอง โฟม และพลาสติก ขนมข้าวเหนียวมัน,ขนมครก,ขนมวุ้น,ขนมถั่วแปบ,ขนมตะโก้ 25
จากตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่าขนมไทยที่ใช้ใบตองห่อเพียงอย่างเดียวมี3ชนิดได้แก่ ขนมสอดใส้ขนมข้าวต้มมัด และขนมเทียน คิดเป็นร้อยละ 15 ขนมไทยที่ใช้โฟมห่อ เพียงอย่างเดียวไม่พบ
ขนมไทยที่ใช้พลาสติกห่อเพียงอย่างเดียวมี 2 ชนิด ได้แก่ ขนมถ้วยฟู และขนมสาลี่อ่อน คิดเป็นร้อยละ 10 ขนมไทยที่ใช้ทั้งใบตองและโฟมไม่พบ ขนมไทยที่ใช้ทั้งใบตองและพลาสติกมี 1 ชนิดได้แก่ ขนมกล้วย คิดเป็นร้อยละ 5 ขนมไทยที่ใช้ทั้งโฟมและพลาสติก มี 9 ชนิด ได้แก่ ขนมชั้น ขนมทองหยิบ ขนมฝอยทอง ขนมเบื้อง ขนมทองหยอด ขนมลูกชุบ ขนมเม็ดขนุน ขนมสังขยา และขนมหม้อแกง คิดเป็นร้อยละ 45 และขนมไทยที่ใช้วัสดุทั้ง 3 ชนิด คือ ใบตอง โฟม และพลาสติก มี5ชนิด ได้แก่ ขนมข้าวเหนียวมัน ขนมครก ขนมวุ้น ขนมถั่วแปบ และขนมตะโก้ คิดเป็นร้อยละ 25
ตารางที่ 3 แสดงเวลาที่ใช้ในการย่อยสลายของแข็ง และประโยชน์และโทษจากการใช้วัสดุต่าง ๆ
วัสดุ เวลาที่ใช้ในการย่อยสลาย ประโยชน์ โทษ/ปัญหา
ใบตอง 1-3 เดือน วัสดุธรรมชาติ ย่อยสลายง่าย ราคาถูก หายากต้องใช้คู่กับพลาสติก
พลาสติก 450 ปี สะดวกหาง่ายราคาถูก ใช้เวลาย่อยสลายนาน
โฟม 500 ปี สะดวกสวยงาม หาง่าย ใช้เวลาย่อยสลายนาน
จากตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่าวัสดุแต่ละชนิดมีทั้งข้อดีข้อเสีย โดยวัสดุโฟมที่ใช้เวลาในการย่อยสลายนานที่สุด รองลงมาคือพลาสติก ส่วนวัสดุที่ย่อยสลายง่ายที่สุดคือ ใบตอง
ขยะเป็นปัญหาสำคัญอันดับหนึ่งของสังคมปัจจุบัน กรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะสูงถึง 8.5 พันตันต่อวัน หากเฉลี่ยเป็นรายบุคคลแล้ว 1 คน จะก่อให้เกิดขยะ 0.8- 1 กิโลกรม ต่อวัน จึงเป็นภาระหนักของสังคม ในการจำกัดขยะเหล่านี้ ปริมาณขยะเกิดขึ้นมากมายทำให้มีขยะตกค้างเป็น
จำนวนมากในแต่ละวัน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความ เป็นอยู่ในสังคมมากมาย ได้แก่
8. บ้านเมืองสกปรกไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน
9. เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ และพาหะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก และโรคทางเดินหายใจ
10. ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น สารตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดิน และแหล่งน้ำ
11. ทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย
12. ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วม
13. เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่นฝุ่นละออง เขม่า ควันจากการเผ่าขยะ และเกิดมีเทน จากการฝังกลบขยะ
14. ขยะบางชนิดไม่ย่อยสลายและกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม
ดังนั้น โครงการรณรงค์ให้ประชาชนทุกคนร่วมใจกันคัดแยกขยะจึงเกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทาง ในการลดปริมาณขยะที่ออกมาจากบ้านเรือน สำนักงานและที่ต่าง ๆ ของชุมชน
1. สามารถลดปริมาณขยะได้เนื่องจากการคัดแยกขยะจะช่วยทำให้ได้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น กระดาษ ขวด โลหะ พลาสติก ส่วนที่เหลือที่จำเป็นต้องกำจัดให้มีปริมาณน้อยลง ซึ่งสถานที่ใช้กำจัด ทำลายขยะนับวันจะมีน้อยลง
1.1 ลดการใช้ ลดการใช้สินค้าฟุ่มเฟือย ใช้อย่างประหยัด และใช้เท่าที่จำเป็นเช่น นำถุงผ้าไปตลาด
1.2 การซ่อมแซม การซ่อมแซมวัสดุสิ่งของที่ชำรุดให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
1.3 การใช้ซ้ำ เช่นการนำขวดมาล้างให้สะอาดเอาไว้ใส่น้ำดื่มในครั้งต่อไป
1.4 การนำกลับมาใช้ใหม่ เช่นการนำขยะมาแปรรูปมาใช้ใหม่ การใช้ขยะเป็นวัตถุดิบทดแทนในการผลิตสิ่งของต่าง ๆ
โดยทั่วไปขยะที่แยกได้มี 3 ประเภท ใหญ่ ๆ
- ขยะเศษอาหารแยกเพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ยหมัก
- ขยะที่ยังใช้ได้นำมารวบรวมแยกวัสดุผลิต หรือ
ปรับปรุง และนำประโยชน์ในการผลิต
- ขยะพิษ ควรแยก รวบรวมส่งกำจัดด้วยวิธีที่เหมาะสม อาจใช้ได้ทั้งวิธีฝังกลบ โดยวิธีพิเศษและการเผา
2. สามารถประหยัดงบประมาณ
เมื่อขยะที่จะกำจัดเหลือปริมาณน้อยลง งบประมาณที่ใช้ในการขนจะน้อยลง ในปัจจุบันกรุงเทพมหานครต้องใช้คนงาน วัสดุ อุปกรณ์เก็บขนขยะ 9000 ตัน คิดเป็นงบประมาณ ประมาณ 2000 ล้านบาทต่อปีใช้คนประมาณ 10000 คน ใช้รถกว่า 2000 คัน ใช้เรือหลายสิบลำ ใช้ถังขยะนับหมื่นใบค่าจ้างฝังกลบราคาตันละ 100 บาท และเงินเดินเจ้าหน้าที่นับมหาศาล ถ้าปริมาณขยะลดลงงบประมาณก็สามารถเหลือนำไปพัฒนาด้านอื่น ๆ ได้
3. สามารถใช้วัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่นแก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ซึ่งกระดาษ 1 ตันสามารถประหยัดการตัดต้นไม้ได้ถึง 17 ต้น
4. รักษาทรัพยากรและประหยัดพลังงาน
ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายลดลง เนื่องจาก การผลิตอุปกรณ์ที่เป็นพลาสติกแทนต้องใช้เม็ดพลาสติกใหม่ ซึ่งกว่าจะได้ผลผลิตต้องใช้พลังงานมากมาย แนวทางแก้ไขโดยนำวัสดุที่ใช้แล้วนำมาหลอมใช้ใหม่
5. สามารถช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เมื่อขยะมีปริมาณน้อยลง สิ่งแวดล้อมจะดีขึ้น ทำให้บ้านเมืองสะอาดปลอดภัยต่อสุขภาพ
สรุปผลการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ห่อขนมไทย และผลกระทบจากการใช้วัสดุต่างๆ
1. รู้จักวัสดุที่ใช้ห่อขนมไทยในปัจจุบันมากขึ้น
2. รู้และเข้าใจผลกระทบจากการใช้วัสดุต่างๆที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม
3. ได้ข้อคิดว่า ในการใช้วัสดุต่างๆควรเลือกใช้ให้เหมาะสม
4. ถ้าจำเป็นต้องใช้วัสดุที่ย่อยสลายยากควรใช้อย่างถูกต้องและรู้จักการแยกขยะทุกครั้ง
อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า
จากการศึกษาค้นคว้าวัสดุที่ใช้ห่อขนมไทย และผลกระทบจากการใช้วัสดุทั้ง 2 กรณีนั้น ทำให้ผู้จัดทำได้รู้ว่า
ขนมไทยในปัจจุบันนิยมการใช้พลาสติกในการห่อมากที่สุด รองลงมาคือใช้โฟม และใบตองตามลำดับ ซึ่งวัสดุที่ใช้โดยเฉพาะพลาสติกและโฟม ได้ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มปริมาณขยะในปัจจุบันเป็นอย่างมากและใช้เวลาในการย่อยสลายนานกว่าใบตองหลายเท่า แต่ด้วยเหตุผลที่ได้รับทราบจากการสัมภาษณ์แม่ค้าพบว่า ในบางครั้งก็มีความจำเป็นที่ต้องใช้โฟมและพลาสติกในการห่อขนมจำหน่ายทั้งนี้เพื่อต้องการนำเสนอสินค้าให้แก่ผู้บริโภคให้มองเห็นถึงรูปลักษณ์ ความสวยงาม สีสันสะดุดตา และน่ารับประทาน ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้จัดทำมีความเห็นว่าถ้าหากจำเป็นต้องใช้วัสดุที่ย่อยสลายยากควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะและเวลาทิ้งขยะ ควรคัดแยกขยะลงถังให้ถูกต้องเพื่อความสะดวกในการกำจัดกขยะและเป็นการลดค่าใช้จ่าย และขยะบางชนิด อาจนำไปรีไซเคิลเพื่อกลับมาใช้ใหม่ เพราะบางครั้งทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความเคยชินกับความสะดวกสะบายมากเกินไปจนลืมนึกถึงผลกระทบ ที่ตามมาโดยเฉพาะ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลาย มนุษย์ สัตว์ และพืช จะได้รับผลกระทบ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมไม่เฉพาะปัจจุบันเท่านั้น แต่อาจส่งผลไปถึงอนาคตอันยาวไกลได้
1. ทำให้ทราบวัสดุที่ใช้ห่อขนมไทยจำหน่ายในปัจจุบัน
2. ทำให้ทราบประโยชน์และโทษของวัสดุต่าง ๆ ในการห่อขนมและบรรจุอาหารต่าง ๆ
3. ทำให้ทราบแนวทางการลดขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี
ทุกคนควรเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ควรร่วมใจกันใช้วัสดุจาก
ธรรมชาติเพื่อการประหยัด และสิ่งแวดล้อมที่ดี ถ้าหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุสงเคราะห์ไม่ได้ควรใช้วัสดุต่าง ๆ อย่างระมัดระวัง ควรแยกขยะ และคัดเลือกวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะ ช่วยประหยัดพลังงาน และสิ่งแวดล้อมที่ดี
1. งามทิพย์ ภู่วโรดมและคณะ. มาช่วยกันลดขยะ. ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุ คณะอุตสาหกรรมการเกษตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. พันธุมดี เกตะวันดี. ผู้แปล. 50 วิธีพิทักษ์โลกและสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็ก. ม.ป.ป.
3. www. Yahoo.com “ขยะ”
4. www. Yahoo.com “โฟม”
5. สัมภาษณ์แม่ค้าที่ตลาดสามแยกสันทรายน้อย
0 comments:
แสดงความคิดเห็น
ขอบคุณสำหรับทุก Comment ครับ