วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เรียนทำขนมไทย สูตรขนมไทย ขนมดอกจอก


ขนมไทย สูตรขนมไทย ขนมดอกจอก เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย อย่างหนึ่งที่รู้จักกันดีเพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อน ประณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำที่กลมกลืน พิถีพิถันในเรื่องรสชาด สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรับประทานทำให้ได้รับความนิยม และมีผู้ให้ความสนใจบริโภค ผลิตภัณฑ์ขนมไทยบ้านโนนเมืองเป็นผลิตภัณฑ์สินค้า OT0P ประจำจังหวัดนครราชสีมา    ซึ่งทางด้านการตลาดมีความต้องการที่จะขยายตลาด     เพื่อให้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลทั่วไปมากขึ้น

เอกสารการจัดการความรู้ (Knowledge  Management)
1. ชื่อเรื่อง  ขนมดอกจอก
2. ชื่อผู้ร่วมดำเนินการจัดการความรู้
2.1 ชื่อสกุลผู้บริหาร  นายพงศ์พร  ปิติกะวงศ์   เกษตรอำเภอ
2.2 ชื่อสกุลผู้ดำเนินการ   นายสหรัฐ   นิรันตสุข  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6  ว
2.3 ชื่อสกุลผู้จดบันทึก   นางสาวรัชนีวรรณ   ทองชำนาญ   เจ้าพนักงานธุรการ
2.4 ชื่อสกุลเจ้าขององค์ความรู้  นางสะอิ้ง   ทะน้อม  บ้านเลขที่ 10   หมู่ที่  3   ตำบลสีดา   อำเภอสีดา   จังหวัดนครราชสีมา
       3.  วันเดือนปีที่ดำเนินการจัดการความรู้   4  กรกฎาคม   2551
       4.  สถานที่ดำเนินการจัดการความรู้   ที่ทำการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโนนเมือง  หมู่ที่  3   ตำบลสีดา  อำเภอสีดา   จังหวัดนครราชสีมา
       5.  บทนำ
ขนมไทย เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย อย่างหนึ่งที่รู้จักกันดีเพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อน ประณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำที่กลมกลืน พิถีพิถันในเรื่องรสชาด สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรับประทานทำให้ได้รับความนิยม และมีผู้ให้ความสนใจบริโภค ผลิตภัณฑ์ขนมไทยบ้านโนนเมืองเป็นผลิตภัณฑ์สินค้า OT0P ประจำจังหวัดนครราชสีมา    ซึ่งทางด้านการตลาดมีความต้องการที่จะขยายตลาด     เพื่อให้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลทั่วไปมากขึ้น
ดังนั้น การตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ ขนมไทยบ้านโนนเมือง  เพื่อทราบถึงความต้องการของผู้บริโภคว่าต้องการผลิตภัณฑ์ขนมไทยอย่างไร จึงสรุปได้ว่า เพศ อายุ อาชีพ รายได้ การศึกษา เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติในการตัดสินใจเลือกซื้อขนมไทย และอิทธิพลที่ส่งเสริมในการตัดสินใจซื้อขนมไทยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ผู้บริโภคต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายทางด้านรสชาติ และความสะอาดถูกหลักอนามัย และเพื่อส่งเสริมการตลาดเพิ่มขึ้น คือ บรรจุภัณฑ์ ควรจะมีความสวยงามและน่าสนใจเพิ่มขึ้นด้วย
ขนมไทยของกลุ่มพัฒนาชีพขนมบ้านโนนเมืองเป็นสินค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากนัก เนื่องจากกลุ่มพัฒนาอาชีพขนมบ้านโนนเมืองยังขาดความรู้ ความสามารถทางด้านการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขาย อีกทั้งตลาดในการรองรับผลิตภัณฑ์ค่อนข้างจะมีน้อยเพราะไม่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป จำเป็นจะต้องไปซื้อที่แหล่งผลิตและร้านค้าในอำเภอสีดาและอำเภอใกล้เคียงเท่านั้น ซึ่งทำให้ผู้บริโภคบางส่วนใหญ่ไม่สามารถไปซื้อถึงแหล่งผลิตได้ เพราะไม่สะดวกในการเดินทางและการขนส่ง

6. เนื้อเรื่อง
       ขนมไทย  (ขนมดอกจอก)  หัตถกรรมความอร่อยที่แสดงออกถึงความอ่อนช้อยของ  ความเป็นไทย ตั้งแต่ครั้งอดีตกาลที่ก่อกำเนิดภูมิปัญญาไทยหลากหลายอย่างให้สืบสานต่อทั้งวิถีชีวิตประเพณี วัฒนธรรม ที่สามารถนำวัสดุมีอยู่ในท้องถิ่นมาปรุงแต่งเป็นของหวานได้มากหลายรูปแบบ จัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าคนไทยมีลักษณะนิสัยอย่างไร เพราะขนมแต่ละชนิดล้วน มีเสน่ห์ แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อน ประณีต วิจิตรบรรจงในรูปลักษณ์ ตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ วิธีการทำที่กลมกลืน ความพิถีพิถัน สีที่ให้ความสวยงาม มีกลิ่นหอม รสชาดของขนมที่ละเมียดละไมชวนให้รับประทาน แสดงให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนใจเย็น รักสงบ มีฝีมือเชิงศิลปะ
คำว่า "ขนม" เข้าใจว่ามาจากคำสองคำที่มาผสมกันคือ "ข้าวหนม"  และ "ข้าวนม"   เข้าใจว่าเป็นข้าวผสมน้ำอ้อย น้ำตาล โดยอนุโลมคำว่าหนม แปลว่า หวาน   ข้าวหนม  ก็แปลว่า  ข้าวหวาน เรียกสั้น ๆ เร็วๆ ก็กลายเป็น ขนม ไป
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการรวมกลุ่มพัฒนาอาชีพขนมบ้านโนนเมือง
กลุ่มพัฒนาอาชีพขนมบ้านโนนเมือง    ตั้งอยู่หมู่ที่ 3    ตำบลสีดา     อำเภอสีดา
จังหวัดนครราชสีมา  เดิมทีสมาชิกกลุ่มมีอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก และมีอาชีพเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพรอง อาชีพเสริม คือทำขนมไทย  ซึ่งมีสมาชิกทั้งสิ้น  15  คน
ต่อมา พ.ศ. 2536 ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อฝึกอาชีพให้แก่สมาชิกกลุ่ม   โดยได้ฝึกอบรมด้านการทำขนม  และการแปรรูปผลิตทางการเกษตร เช่น การทำขนมดอกจอก   กล้วยฉาบ  มะยมเชื่อม  ข้าวเกรียบฝักทอง
สำนักงานเกษตรอำเภอสีดาได้จัดฝึกอบรม และพาไปศึกษาดูงานจากกลุ่มทำขนมอำเภอต่างๆ   สมาชิกกลุ่มก็เริ่มมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คุณภาพของขนมให้ดีขึ้นและผลิตข้าวแตนสมุนไพรเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชนิด   จนผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทุกชนิด ได้รับการรับรองมาตรฐานอาหารและยา (อย.) จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และได้ OTOP  ระดับ  3  ดาว  และ  4  ดาวระดับประเทศ
ปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป็นที่ต้องการของตลาด จนกลุ่มต้องขยายกำลังการผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ  ปัจจุบันสมาชิกกลุ่ม  มีจำนวนทั้งสิ้น  85  คน
สรุปผลการดำเนินงานของกลุ่ม
1. ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป็นผลิตภัณฑ์ 3 ดาว และ 4 ดาว ระดับประเทศ
2. ผลิตภัณฑ์กลุ่มทุกชนิดได้รับการรับรองมาตรฐานอาหารและยา (อย.)  จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
3. ด้านการตลาด  มีจำหน่ายทั้งปลีกและส่งทั้งในอำเภอสีดา จังหวัดและต่างจังหวัด
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
1. ปกครองอำเภอสีดา
2. สำนักงานเกษตรอำเภอสีดา
3. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสีดา
4. ศูนย์การบริการการศึกษานอกโรงเรียน
5. องค์การบริหารส่วนตำบลสีดา


     ขนมดอกจอก


    ส่วนผสมในการทำขนมดอกจอก
ส่วนผสม
แป้งสาลี 1 ถ้วยตวง แป้งข้าวจ้าว       1           ถ้วยตวง
แป้งมัน            1/2 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย    1/2          ถ้วยตวง
เกลือ 11/2 ช้อนชา ไข่แดง 1          ฟอง
น้ำมัน 2 ช้อนโต๊ะ น้ำเปล่า   2/3       ถ้วยตวง
น้ำปูนใส 2/3         ถ้วยตวง งาดำ             1/4 ถ้วยตวง
น้ำมันพืช   สำหรับทอด    1           ขวด

วิธีทำ
1.ผสมแป้งสามชนิดรวมกัน ใส่เกลือ น้ำตาลทราย  ไข่แดงนวดกับน้ำมันเปล่าจนนิ่ม
ใส่น้ำปูนใส  น้ำมันพืช  คนให้เข้ากันใส่งาพักไว้
2.วิธีทอดใส่น้ำมันมาก ๆ   ในกระทะให้ท่วมพิมพ์น้ำมันร้อนจัด  จุ่มพิมพ์ลงน้ำมันให้ร้อนจัด  แล้วจึงชุบลงในแป้งประมาณ  3/4  ของพิมพ์   พอแป้งจับพิมพ์นำไปจุ่มลงในน้ำมันร้อนจัดกดพิมพ์ให้อยู่ในน้ำมันสักครู่ดึงพิมพ์ออกจากแป้ง   ทอดแป้งให้เหลืองสวย

       
       นำส่วนผสมเข้าแบบพิมพ์แล้วนำไปทอด                              สาธิตการทอดขนมดอกจอก

       
     ขนมดอกจอกที่ทอดใหม่ๆ  นำไปจัดรูปทรง                    บรรจุผลิตภัณฑ์  เพื่อส่งจำหน่ายต่อไป

       
       นางสะอิ้ง   ทะน้อม  เจ้าขององค์ความรู้                          เกียรติคุณแห่งความภาคภูมิใจที่ได้รับ





0 comments:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณสำหรับทุก Comment ครับ