ขนมไทย สอนทำขนมไทย สูตรขนม สูตรขนมไทย เรียนทำขนมไทย ปัจจุบันนี้วัยรุ่นไม่ค่อยจะรับประทานของหวานไทยซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของไทย ชอบแต่รับประทานพวก คุกกี้ เค้ก จึงอยากจะทำโครงงานขึ้นเพื่อเป็นแบบอย่างของวัยรุ่นที่พวกเรายังไม่ลืมขนมหวานของไทยอีกทั้งยังเป็นการอนุรักษณ์ขนมไทยให้อยู่คู่คนไทยตลอดไป
หัวข้อโครงงาน การทำขนมดอกจอก
ผู้จัดทำ 1. นางสาวธัญลักษณ์ เทียนน้อย
2. นางสาวผกามาศ ศิริเกต
3. นางสาวณัฐกมล ปานเพชร
4. นางสาวณัฐชยา ปานเพชร
ระดับชั้น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5
ที่ปรึกษาโครงงาน 1. คุณครูวราภรณ์ สวยรูป
2. คุณครูนงคราญ อนุกูล
โรงเรียน โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร
ปีการศึกษา 2552
บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของโครงงานเพื่อเพื่อเป็นการอนุรักษ์ขนมไทย เนื่องจากในปัจจุบันนี้วัยรุ่นไทยไม่ค่อยชอบทานขนมไทย แต่ชอบทานขนมคุกกี้ ขนมเค้ก ที่มีแป้งและน้ำตาลเป็นส่วนผสมจำนวนมาก จึงส่งผลให้วัยรุ่นไทยเป็นโรคอ้วนเป็นจำนวนมาก และผู้ที่เป็นโรคอ้วนก็ยังเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อนได้ง่ายทั้งนี้ คณะผู้จัดทำจึงได้เล็งเห็นถึงปัญหาของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน จนได้ค้นพบวิธีว่าเราจะต้องนำขนมไทยมาอนุรักษ์ไว้ และที่สำคัญยังเป็นการช่วยให้วัยรุ่นไม่เป็นโรคอ้วนอีกด้วย เนื่องจากขนมไทยมีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาลน้อยและยังมีประโยชน์แก่ผู้ที่รับประทาน ไม่ว่าจะเป็น ความอร่อย และคุณค่าทางโภชนาการที่ผู้รับประทานจะได้รับ แล้วยังเป็นการอนุรักษ์ขนมไทยไว้อีกด้วย และโครงงานนี้ยังจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่วิธีการทำขนมดอกจอกเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่สนใจอยากจะทำเพื่อรับประทานเองหรือเพื่ออาชีพ
กิตติกรรมประกาศ
คณะผู้จัดทำขอขอบคุณคุณครูที่ปรึกษาโครงงาน คุณครูราภรณ์ สวยรูป คุณครูนงคราญ อนุกูล ที่ให้คำแนะนำในการจัดทำโครงงาน ขอขอบคุณ คุณแม่ลัดดา ภูสุโคตร ที่ให้คำแนะนำในการทำโครงงาน และที่ขาดไม่ได้ ก็ต้องขอขอบคุณคุณยายปี หัสดี ที่เอื้อเฟื้อสถานในการทำโครงงาน ขอบคุณโรงเรียนยางตลาดวิทยาคารที่เอื้อเฟื้อสถานที่ในการจัดแสดงประเมินโครงงานในครั้งนี้ จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ปัจจุบันนี้วัยรุ่นไม่ค่อยจะรับประทานของหวานไทยซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของไทย ชอบแต่รับประทานพวก คุกกี้ เค้ก จึงอยากจะทำโครงงานขึ้นเพื่อเป็นแบบอย่างของวัยรุ่นที่พวกเรายังไม่ลืมขนมหวานของไทยอีกทั้งยังเป็นการอนุรักษณ์ขนมไทยให้อยู่คู่คนไทยตลอดไป
จุดประสงค์ในการทำโครงงาน
1. เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
2. เพื่อให้เกิดความรู้ความข้าใจในการทำโครงงาน
3. เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
4. เพื่อสามารถสร้างรายได้ในระหว่างเรียนได้ และสามารถนำไปประกอบอาชีพได้
5. เพื่อส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พอกิน พอใช้ มีเหตุมีผล มีความคุ้มค่า
แผนปฏิบัติงาน
ลำดับ รายการปฏิบัติ กำหนดเวลา ผลการปฏิบัติ
1 ประชุมวางแผน 29 ม.ค.53-30 ม.ค.53 สมาชิกในกลุ่มร่วมกันออกความคิด
2 เลือกโครงงาน 29 ม.ค.53-30 ม.ค.53 ได้โครงงานที่เลือก
3 เขียนโครงงาน 31ม.ค.53-3ก.พ.53 แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
4 เสนอโครงงาน 6ก.พ.53 อาจารย์รับพิจารณาโครงงาน
5 ลงมือปฏิบัติ 7ก.พ.53 ได้ขนมที่อร่อย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ขนมดอกจอกที่อร่อย จำนวน 35 ถุง
2. รับประทานได้ จำนวน 40 คน
3. มีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการทำขนมดอกจอกที่ถูกต้อง
4. สามารถนำออกจำหน่ายหารายได้ระหว่างเรียนได้
ค่าใช้จ่ายในการทำขนม
400 บาท
1. แป้งข้าวจ้าวถุงละ 15 บาท 2 ถุง 30 บาท
2. แป้งสาลีถุงละ 45 บาท 1 ถุง
3. แป้งมันถุงละ 10 บาท 2 ถุง 20 บาท
4. น้ำมันถุงละ 47 บาท 3 ถุง
5. น้ำตาลทรายถุงละ 23 บาท 1 ถุง
6.ไข่ไก่ 10 บาท
7. งาดา 10 บาท
8. ถุงพับ 45 บาท
9. น้ำเปล่า (ที่บ้าน)
10. น้ำปูนใส (ที่บ้าน)
11. เกลือป่น (ที่บ้าน)
12. ถุงพับแพ็คละ 45 บาท
13. แก๊ส 100 บาท
วัสดุ/อุปกรณ์
น้ำมันปาล์ม กะลามะพร้าว แป้งข้าวจ้าว
ที่คีบ งาดำและเกลือ แป้งมัน
ถุงพับ กระทะ แป้งสาลี
ขวดสำหรับดันถุง ทิชซู่ ที่คีบขนม
กระชอนตักเศษขนม เตาแก๊ส ตะแกรง
ส่วนผสม
1. แป้งข้าวเจ้า 100 กรัม
2. แป้งมัน 100 กรัม
3. แป้งสาลี 50 กรัม
4. ไข่ไก่ 1 ฟอง
5. น้ำตาลทราย 1/4 ถ้วย (หรือชอบมากเพิ่มไปอีก 2 ชต. ก็ได้ค่ะ เพราะที่ทำออกมาไม่ค่อยหวาน แต่ที่เด็กๆชอบค่ะ)
6. เกลือป่น 1 ชช.
7. น้ำมัน 1 ชต.
8. น้ำปูนใส 1/2 ถ้วย
9. น้ำ 1/2 ถ้วย
10. งาดำ งาชอบ ตามความชอบ
11. น้ำมัน สำหรับทอด
12. พิมพ์ขนมดอกจอก
วิธีทำ
1. ผสมแป้งทั้งสามชนิดรวมกัน ค่อยใส่น้ำปูนใส และน้ำ ทีละ นิด นวดแป้งพอเข้ากัน จากนั้น ใส่ไข่ไก่ น้ำตาลทราย เกลือป่น น้ำมัน
2. คนให้เข้ากัน เติมน้ำที่เหลือจนหมด
3. ใส่น้ำมันลงใน แช่พิมพ์สำหรับทำขนมในน้ำมัน ตั้งไฟให้ร้อน ใช้ไฟปานกลาง
4. ยกพิมพ์ขึ้นซับกับกระดาษซับน้ำมัน แล้วจุ่มลงในแป้งที่เตรียมไว้ ให้แป้งติดพิมพ์ แล้วนำลงไปจุ่มในน้ำมันทอด
5. พอแป้งอยู่ตัวแล้วสะบัดให้แป้งหลุดจากพิมพ์ (ถ้าไม่หลุดหากไม้หรือมีปลายแหลมช่วยเขี่ยออกได้ค่ะ)
6. ทอดให้เหลือง
7. ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน
8. ปล่อยให้เย็น
9. บรรจุลงถุง
10.แพ็คถุง
ผลการดำเนินงาน
สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่าการที่จะทำขนมดอกให้อร่อยอยู่ที่ส่วนผสมในการทำ และมีส่วนผสมในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะ ถ้าใส่น้ำมาเกินไป ขนมก็จะไม่ติดพิมพ์ หรือว่าถ้าใส่แป้งมาเกินไปขนมก็จะหนาทำให้เวลาทอดขนมก็จะไม่สุก
ข้อเสนอแนะ
1. พิมพ์ใช้ทำขนม ควรแช่ในน้ำมันก่อน 1 คืน จะทำให้ขนมล่อนออกจากพิมพ์ง่าย
2. ถ้าพิมพ์ไม่ร้อน ก็จะจุ่มแป้งไม่ติด และถ้าน้ำมันติดพิมพ์มากไป แป้งก็จะไม่ติดเช่นกันค่ะ
3. ควรคนแป้งให้เข้ากันก่อนทุกครั้ง ก่อนจุ่มพิมพ์ เพราะแป้งที่ผสมจะนอนก้น
4. การทอดแต่ละครั้ง ควรแบ่งแป้งใส่ถ้วยเล็กที่มีขนาดใหญ่กว่าพิมพ์เล็กน้อย
ที่มาของสูตร อาหารเป็นอาชีพ "ขนมหวาน" โดย อ.ศรีสมร คงพันธ์
0 comments:
แสดงความคิดเห็น
ขอบคุณสำหรับทุก Comment ครับ